เทคนิคตรวจเช็คถังดับเพลิง ด้วยตัวเองภายใน 5 นาที

by pam
181 views

ถังดับเพลิง เป็นอุปกรณ์ที่มีอยู่ในทุกสถานที่ เพื่อรักษาความปลอดภัยในบ้านหรือสถานที่อื่น ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกรณีเกิดเหตุอัคคีภัย การตรวจเช็คถังดับเพลิงเป็นสิ่งที่ควรทำอย่างสม่ำเสมอ เพื่อให้มั่นใจว่าอุปกรณ์นี้พร้อมใช้งานในกรณีฉุกเฉิน และลดความเสี่ยงการเกิดถังดับเพลิงระเบิด พบได้บ่อยในถังดับเพลิงที่มีอายุการใช้งานที่ยาวนานและไม่ได้บำรุงรักษาอย่างสม่ำเสมอ

7 รายการตรวจถังดับเพลิง เบื้องต้นมีอะไรบ้าง

2. 7 รายการตรวจถังดับเพลิง เบื้องต้นมีอะไรบ้าง 1

1. ตรวจสอบสถานที่ตั้ง

ตรวจสอบว่าถังดับเพลิงอยู่ในตำแหน่งที่ถูกต้องและสามารถเข้าถึงได้ง่าย เพราะถ้ามันถูกวางในที่ที่ไม่เหมาะสมหรืออุปกรณ์อื่นบังการหยิบจับเมื่อเกิดเหตุฉุกเฉิน อาจทำให้ไม่สามารถใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพในเวลาที่จำเป็น และไม่ตรวจติดตั้งถังดับเพลิงไว้ในที่แดดเข้าถึงได้ มีโอกาสสัมผัสกับน้ำ และสถานที่ที่มีความร้อนสูง เพราะเสี่ยงต่อการระเบิดและขึ้นสนิม

2. ตรวจสอบความสมบูรณ์ของถังดับเพลิง

ตรวจสอบว่าถังดับเพลิงยังคงอยู่ในสภาพดี ไม่มีรอยสนิทหรือคราบ ไม่มีรอยเเตก เพราะหากมีอาจเสี่ยงต่อการรั่วไหลของแก๊สและเกิดการระเบิดได้

3. ตรวจสอบการเช็คสายฉีด และหัวฉีด

สภาพสายฉีดที่ดีไม่ควรมีรอยขาด แตก ในขณะที่หัวฉีดต้องไม่มีสิ่งอุดตัน เพราะหากมีสิ่งเหล่านี้เมื่อใช้งานจริงจะมีผลต่อการปล่อยแก๊สได้น้อยและไม่ตรงจุด

4. ตรวจเช็ค คันบีบ

คันบีบไม่ควรมีการหัก งอ ไม่อย่างนั้นจะไม่สามารถบีบให้สารเคมีในถังออกมาได้ ทำให้ไม่สะดวกในการใช้งาน

5. ตรวจเช็คสลักถังดับเพลิงและซีลล็อก

เป็นจุดเช็คการเปิดใช้งานถังดับเพลิง เพราะหากไม่มีรอยขาดแสดงว่ายังไม่เคยมีการเปิดใช้งานสารเคมีในถังมีพร้อมใช้งานเมื่อเกิดเหตุฉุกเฉิน

6. ตรวจสอบแรงดันในถัง

การตรวจสอบแรงดันมีอยู่ 3 ระดับที่ควรรู้เพื่อเช็คสภาพพร้อมใช้งานหรือไม่

  1. แรงดันปกติ (195 psi): สังเกตุได้โดยเข็มตรงอยู่ที่แนวตั้งฉาก และอยู่ในพื้นที่สีเขียว ซึ่งแสดงว่าถังพร้อมใช้งานอย่างปกติ
  2. แรงดันต่ำ (RECHARGE): เข็มเอียงไปทางด้านซ้ายของพื้นที่สีเขียว แสดงว่าแรงดันในถังต่ำกว่าปกติ สามารถแก้ไขได้โดยหาจุดบริการรับอัดแรงดันใหม่
  3. แรงดันเกิน (OVERCHARGE): เข็มเอียงไปทางด้านขวาของพื้นที่สีเขียว แสดงว่าแรงดันในถังเกินความจุปกติ ทำให้ถังเสี่ยงต่อการบวมหรือแตกออก หากเกิน 1000 psi อาจเกิดอันตรายเนื่องจากการระเบิด สามารถแก้ไขด้วยการส่งให้ผู้เชี่ยวชาญปรับแก้ไขให้อยุ่ในโซนสีเขียว

หมายเหตุ: ถังดับเพลิงคาร์บอนไดออกไซด์ไม่มีมาตรวัด วิธีเดียวที่จะตรวจสอบว่าเครื่องดับเพลิงชนิดคาร์บอนไดออกไซด์ คือการชั่งน้ําหนัก

7. ตรวจสอบวันหมดอายุ

หากถังดับเพลิงมีวันหมดอายุหรือไม่เหมาะสมในการใช้งานอีกต่อไป ควรทำการเปลี่ยนถังดับเพลิงใหม่โดยทันที โดยข้อมูลอายุถังจะอยู่ที่ป้ายประกาศบนถังดับเพลิง หากอายุถังมาอายุนานมากกว่า 5 ปีควรนำส่งไปตรวจสอบ

ทำไมเราต้องตรวจเช็คถังดับเพลิง

การตรวจเช็คถังดับเพลิงเป็นสิ่งที่สำคัญและควรทำอย่างสม่ำเสมอ เพื่อให้มั่นใจว่ามันพร้อมใช้งานเมื่อเกิดเหตุฉุกเฉินและเพื่อลดความเสี่ยงจากอัคคีภัยไฟไหม้ในทุกสถานการณ์ โดยมีเหตุผลหลักๆในการตรวจเช็คดังนี้

  1. ป้องกันอันตราย: ถังดับเพลิงเป็นเครื่องมือที่ใช้ในการดับเพลิงในกรณีฉุกเฉิน เช่น เมื่อเกิดเพลิงไหม้ การตรวจเช็คและรักษาถังดับเพลิงให้พร้อมใช้งานเป็นปัจจัยสำคัญที่ช่วยลดความเสี่ยงจากอัคคีภัยไฟไหม้ อีกทั้งตัวถังดับเพลิงเองก็มีความอันตรายที่เสี่ยงต่อการระเบิดหากอยู่ในสภาพที่ไม่เหมาะสมตามมาตรฐาน
  2. การป้องกันความเสียหาย: การตรวจเช็คถังดับเพลิงเป็นการป้องกันความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นจากเพลิงไหม้ ถ้าถังดับเพลิงไม่สามารถใช้งานได้เมื่อมีเหตุการณ์เริ่มต้นจากจุดเล็กๆ อาจรุกลามเป็นเพลิงไหม้เป็นวงกว้างทำให้มีความเสียหายมากขึ้น
  3. การปฏิบัติตามกฎหมายและข้อบังคับ: ในบางที่ เช่น สถานที่ทำงานหรืออาคารสาธารณะ การตรวจเช็คถังดับเพลิงอาจเป็นการปฏิบัติตามกฎหมายหรือข้อบังคับที่กำหนดไว้
  4. เพิ่มความสบายใจ: การมีถังดับเพลิงที่พร้อมใช้งานในบ้านหรือสถานที่ทำงานช่วยให้คุณรู้สึกมั่นใจในความปลอดภัยของตนเองและคนรอบข้าง
  5. เตรียมความพร้อมในกรณีฉุกเฉิน: การตรวจเช็คถังดับเพลิงเป็นการเตรียมความพร้อมในกรณีฉุกเฉิน เมื่อมีเหตุการณ์เลวร้ายเกิดขึ้น การมีถังดับเพลิงที่ใช้งานได้ในทันทีช่วยลดความเสี่ยงและช่วยให้สามารถจัดการกับสถานการณ์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

3.เตรียมความพร้อมในกรณีฉุกเฉิน 1

ความถี่ในการตรวจถังดับเพลิง

ตามมาตรฐานสมาคมป้องกันอัคคีภัยแห่งชาติ  (NFPA) กำหนดให้ต้องตรวจสอบถังดับเพลิงเมื่อติดตั้งครั้งแรงและทุกๆเดือน โดยความถี่ในการตรวจสอบจะแตกต่างกันไปตามสภาพแวดล้อม อย่างหากสภาพแวดล้อมมีความเสี่ยงต่อการขึ้นสนิม หรือทำให้อุปกรณ์ดับเพลิงเสียหาย ต้องมีการตรวจสอบถี่ยิ่งขึ้น อาจเป็นสัปดาห์ละครั้ง

4.ความถี่ในการตรวจถังดับเพลิง 1

นอกจากนี้ยังควรจดบันทึกการตรวจสอบและเก็บเอกสารไว้อย่างน้อย 1 ปีเพื่อเป็นข้อมูลการตรวจสอบ

สรุป

การตรวจเช็คถังดับเพลิงเป็นสิ่งที่ควรทำอย่างสม่ำเสมอ เพื่อให้คุณมั่นใจในความปลอดภัยของบ้านหรือสถานที่ที่คุณอาศัยอยู่ และป้องกันความเสี่ยงจากเหตุอันตราย นอกจากการตรวจเช็คและผู้ใช้งานเองก็ควรมีความรู้ในการใช้งานอุปกรณ์ดับเพลิงจริง ซึ่งสามารถเรียนรู้ได้จาก คอร์สอบรมดับเพลิงขั้นต้น ที่ได้รวมพื้นฐานเกี่ยวกับเพลิงไหม้ การรับมืออย่างถูกวิธี รวมถึงการเลือกใช้อุปกรณ์ดับเพลิงให้ถูกต้อง

บทความที่น่าสนใจ

บริษัท เซฟตี้ เมมเบอร์ จํากัด

Copyright @2025  อบรมดับเพลิงขั้นต้น Developed website and SEO by iPLANDIT